วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

พิธีสวนสนามยุวกาชาด

โครงการ พิธีสวนสนามเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย ประจำปี 2551
ระยะเวลาดำเนินการ ....... ประมาณเดือนมกราคม 2552 ….. (ภาคเรียนที่ 2/2551)…………………….……

หลักการและเหตุผล
กิจกรรมยุวกาชาด เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีวินัยและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
แก่ส่วนรวม ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งในหลักสูตรสถานศึกษากำหนดให้จัดการเรียนการสอน เนื่องจากพระบาท
สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ทรงก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2456 ซึ่งสภากาชาดไทยจะจัดงานวันคล้าย
วันสถาปนายุกาชาดไทยและพิธีสวนสนามของสมาชิกยุวกาชาดไทยในระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ มกราคม ของทุกปี
ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่และเพื่อเป็นการแสดง
ถึงความมีระเบียบวินัย ความพร้อมเพรียง และการพัฒนาของกิจกรรมยุวกาชาด โรงเรียนสายธารวิทยาจึงจัดให้มี
โครงการพิธีสวนสนามของสมาชิกยุวกาชาดขึ้นในทุกปีการศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ที่ทรงก่อตั้ง
กิจกรรมยุวกาชาดขึ้น
2. เพื่อเป็นการแสดงถึงความเป็นระเบียบ ความพร้อมเพรียง และการพัฒนาของกิจกรรมยุวกาชาด
3. เพื่อเป็นการแสดงถึงความอดทน ความมีระเบียบวินัย และการเป็นแบบอย่างที่ดี
4. เพื่อให้สมาชิกยุวกาชาดมีความภูมิใจในการเป็นสมาชิกยุวกาชาด
เป้าหมาย
1. สมาชิกยุวกาชาด จำนวน 34 คน และ ผู้นำยุวกาชาด จำนวน 5 คน เข้าร่วมพิธีสวนสนามของ
สมาชิกยุวกาชาด ที่สนามกีฬากลาง จังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการ
2. สมาชิกยุวกาชาดเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ที่ทรางก่อตั้งกิจกรรมยุวกาชาดไทย
3. มีความภูมิใจในการเป็นสมาชิกยุวกาชาด
4. สมาชิกยุวกาชาดมีความเป็นระเบียบ มีวินัย ความอดทน ความพร้อมเพรียง การป็นแบบอย่างที่ดี
และเกิดการพัฒนาของกิจกรรมยุวกาชาด
วิธีดำเนินการ
กิจกรรม / ขั้นตอน
ระยะเวลา
การดำเนินการ
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
1
โครงการพิธีสวนสนามเนื่องใน
วันคล้ายวันสถาปนายุวกาชาดไทย
ประจำปี 2551
1.1 ประชุมผู้นำยุวกาชาด
1.2 ฝึกซ้อมสมาชิกยุวกาชาด 34 คน เดินสวนสนาม และจัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ป้ายไม้พร้อมธงชาติ ,ป้ายไม้พร้อมธงยุวกาชาด เป็นต้น
1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการฝึกซ้อม
พิธีสวนสนาม
1.4 ติดต่อและประสานงานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 ดำเนินตามโครงการโดยนำสมาชิก
ยุวกาชาด 34 คน เข้าแข่งขันพิธีสวนสนามที่สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ
1.6 สรุปและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหาร



ตุลาคม 2551
ตุลาคม 2551



31 ธันวาคม 2551

1-3 มกราคม 2552

9 มกราคม 2552


31 มกราคม 2552



-
1,000



-

-

3,800


200
นางโสภา บุญศักดิ์
รวมจำนวนเงิน
5,000 บาท ( ห้าพันบาทถ้วน )

การประเมินผล
ตัวบ่งชี้สภาพความสำเร็จ
วิธีประเมิน
เครื่องมือที่ใช้วัด
1. มีการเข้าร่วมแข่งขันพิธีสวนสนามสมาชิกยุวกาชาดตามโครงการ
2.สมาชิกยุวกาชาด จำนวน 34 คน
ที่เข้าร่วมแข่งขันพิธีสวนสนามได้แสดงออกถึงความเป็นระเบียบวินัยความพร้อมเพรียง และสวยงาม
1. การสังเกตและสอบถาม
2. การประเมินผลการจัด
กิจกรรม
1. แบบสังเกตและสอบถาม
2. แบบประเมินกิจกรรม

- 3 -
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. กระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมยุวกาชาดเป็นไปตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด
2. การจัดเรียนการสอนกิจกรรมยุวกาชาดเกิดการพัฒนาและมีประสิทธิภาพอย่างเนื่อง
3. เป็นการแสดงถึงความอดทน ความเป็นระเบียบวินัย ความพร้อมเพรียง การเป็นแบบอย่างที่ดีและ
มีความภูมิใจในการเป็นสมาชิกยุวกาชาด

ลงชื่อ……………………………………. ลงชื่อ………………………………..
(นางโสภา บุญศักดิ์) (นายสำนวน ทองหล่อ )
ผู้นำยุวกาชาด หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ
ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ



ลงชื่อ …………………………………
(….…………………………..)
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสายธารวิทยา
ผู้เห็นชอบโครงการ




ลงชื่อ………………………………..
(นายถวิล สร่ายหอม )
ผู้อำนวยการโรงเรียนสายธารวิทยา
ผู้อนุมัติโครงการ





วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กิจกรรมยุวกาชาด

กิจกรรมยุวกาชาดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มุ่งส่งเสริมให้เยาวชนที่เป็นสมาชิกยุวกาชาดมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัยและเสริมสร้างให้มีวินัยในตนเองและในสังคม เป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างวินัยให้กับชาติ ดังนั้นจึงนับได้ว่าการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดผลดังกล่าวนั้นจึงมีการจัดดังต่อไปนี้
1. การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะทำหน้าที่สนันสนุนในการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ คือ การจัดอบรมผู้บริหารการศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นำยุวกาชาด
2. การจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชน มีการจัดในลักษณะการให้การอบรมให้เกิดความเป็นผู้นำ เช่น การจัดอบรมหัวหน้าหน่วยสี การจัดอบรมเพื่อให้เกิดความรู้และทักษะในการดำรงชีวิต เช่น การอบรมวิชาพิเศษของสมาชิกยุวกาชาด และนอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะที่เน้นให้เด็กและเยาวชนให้มีทักษะในการอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน